ร.พ.สุรินทร์ผลักดันความร่วมมือทางวิชาการแพทย์ยกระดับสุขภาพโรคทางหูและการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด
14 พ.ค.68ที่ผ่านมานายแพทย์ ยุทธนา วรรณโพธิ์ กลางนายแพทย์สาธารรสุขจังหวัดสุรินทร์เป็นประธานเปิดการสัมนาความร่วมมือทางวิชาการแพทย์เฉพาะทางด้านโสดศอนาสิก ของโรงพยาบาลสุรินทร์กับโรงพยาบาลราชวิถีเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านวิชาการยกระดับสุขภาพโรคทางหูและการได้ยินของประชาชนแลกเปลี่ยนประสบการณืดูแลรักษาผู้ป่วยทางด้านโรคหูโดยแบ่งเป็น2กิจกรรมได้แก่การอบรมเชิงปฏิบัติการตรวจคัดกรองการได้ยินทารกแรกเกิดและการผ่าตัดโรคหูน้ำหนวกเรื้อรังแก่ผู้ป่วยที่จะทำให้เกิดประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยพัฒนาความรุ้ด้านวิชาการแก่บุคลากรทางการแพทย์พยาบาลและทีมสหวิชาชีพของโรงพยาบาลสุรินทร์และโรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่9
ทั้งนี้การสูญเสียการได้ยินถาวรในทารกแรกเกิดส่งผลต่อพัฒนาการการเรียนรู้และคุณภาพชีวิตระยะยาวพบว่าร้อยละ60ของการสูญเสียการได้ยินแบบถาวรในเด็กอายุน้อยกว่า5ปีสามารถป้องกันการวินิจฉัยและรักษาภายในอายุ6เดือนจะทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านการพูดอารมณ์และสังคมเหมาะสมและปัจจุบันยังพบผู้ป่วยโรคทางหูน้ำหนวกเรื้อรังและโพรงกระดูกมาสตอยด์อักเสบเรื้อรังในทุกช่วงวัยซึ่งจะส่งผลต่อการได้ยินการทรงตัวการติดเชื้อทางระบบประสาทและการใช้ชีวิตในระยะยาว
โรงพยาบาลสุรินทร์มีการดำเนินการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดในทุกรายตั้งแต่ปี2564เพื ่อตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดให้ได้รับการรักษาฟื้นฟูการได้ยินภายในอายุ6เดือนโดยในปี2567มีเด็กเกิดใหม่เข้ารับการตรวจคัดกรองได้ยิน OAE ทุกราย100เปอร์เซ็นต์ตรวจไม่ผ่าน1.85เปอร์เซ็นต์ลดลงจากปี2565(3.92เปอร์เซ็นต์)และเด็กที่ถูกตรวจพบความผิดปกติการได้ยินระดับก้านสมองได้รับการส่งต่อโรงพยาบาลราชวิถีและโรงพยาบาลศรีณครินทร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อการรักษาต่อไป
พญ.สมจินต์ จินดาวิจักษ์ณ์ หัวหน้ากลุ่มศูนย์บริการแพทย์เฉพาะทางด้านโสตศอนาสิกโรงพยาบาลราชวิถีหัวหน้าคณะที่เดินทางมาให้ทำโครงการกล่าวว่าทารกแรกเกิดมีความสามารถทางการได้ยินระดับใดสามารถฟื้นฟูการได้ยินแต่ถ้ามีการสูญเสียการได้ยินการได้ยินไปเลยก็อาจต้องทำการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมก็สามารถสื่อสารได้ใกล้เคียงกับคนปกติเพราะทำให้มีการพัฒนาด้านการเรียนรู้ภาษาได้ใกล้เคียงกับคนปกติตั้งแต่เริ่มต้นที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดพญ.สมจินต์กล่าว
……………
คำกอง กันนุฬารายงาน/0968264875