ลำปาง-รมว.สธ. เปิดโครงการขับเคลื่อนพระสงฆ์ปลอดโรค NCDS สุขภาพดีทั่วไทย และพิธีเปิดโครงการรักษ์ไต ล้านนา R1 เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 2 พ.ค.2568 ที่ จ.ลำปาง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ณ อาคารนวัตกรรมบริการ มธ.ศูนย์ลำปาง มีพิธีเปิดโครงการขับเคลื่อนพระสงฆ์ปลอดโรค NCDs สุขภาพดีทั่วไทย ภาคเหนือ และพิธีเปิดโครงการรักษ์โต ล้านนา R1 โดยนายสมศักดิ์ เทพสุทิา รมว. สาธารณสุข เป็นประธาน พร้อมด้วย นายกิตติกร โล่ห์สุนทร เลขา รมว. สาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัด สธ.นายชุติเดช มีจันทร์ ผวจ.ลำปาง พระจินดารัตนาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดลำปาง เจ้าอาวาสวัดพระแก้วดอนเต้าฯ อ.เมืองลำปาง ผู้แทนคณะสงฆ์ อสม.เข้าร่วมกว่า 1,500 คนนายสมศักดิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันพระสงฆ์ไทยเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs จำนวนมาก สธ.จึงให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ เพื่อให้สามารถปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างเต็มที่ โดยในปีงบประมาณ 2568 นี้ ได้จัดโครงการดัง
กล่าวขึ้น ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการตรวจสุขภาพและการถวายความรู้พระสงฆ์ การส่งเสริมป้องกันโรค NCDs การนับคาร์บ การถวายชุดตาลปัตรพระคิลานุปัฏฐากรอบรู้สุขภาพ ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เขตสุขภาพที่ 1-3 การแสดงนิทรรศการของ สสจ.ในภาคเหนือทั้งนี้ เพื่อลดอัตราป่วยและป้องกันพระสงฆ์ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDS อาทิ ภาวะไขมันในเลือดสูง ภาวะอ้วนความดันโลหิตสูงและน้ำตาลในเลือดสูง เพื่อให้พระสงฆ์มีสุขภาพดี ปลอดโรคโดยตั้งเป้าถวายการตรวจคัดกรองโรค NCDs และระบุพิกัดการเจ็บป่วยของพระสงฆ์ทั่วประเทศให้ได้ร้อยละ 80 พร้อมกันนี้เปิดโครงการ “รักษ์ไต ล้านนา R1”ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคไต ลดป่วย ลดตาย ลดภาระงบประมาณด้านสุขภาพของประเทศสำหรับโครงการ“รักษ์ไต ล้านนา R1”ซึ่งมุ่งดูแลโรคไตเรื้อรัง ที่เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและเป็นภาระด้านงบประมาณของประเทศ โดยคาดว่ามีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทุกระยะประมาณ 10,000,000 คน และผู้
ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมค่ารักษามากกว่า 20,000 ล้านบาทต่อปี สาเหตุหลักมากกว่าครึ่งเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจึงมุ่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคไต ให้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาตนเอง มีเจ้าหน้าที่ให้ความรู้และคำแนะนำในเรื่องต่างๆ เช่น อาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยา และมีการติดตามผู้ป่วยเป็นระยะ จุดเด่นของโครงการ คือ การออกแบบให้เจ้าหน้าที่สามารถนำไปใช้งานได้ง่าย ศึกษาด้วยตนเองได้ ซึ่งจากการดำเนินงานในระยะเริ่มต้น พบว่าผู้ป่วยมีการปรับพฤติกรรมสุขภาพไปในทางที่ดีขึ้น จึงมีเป้าหมายที่จะขยายผลไปยังทุกหน่วยบริการสาธารณสุขในเขตสุขภาพที่ 1 ต่อไป.
วินัย/ลำปาง รายงาน.