สระแก้ว-เปิดงาน นาเชิงปฏิบัติการเพื่อประชาสัมพันธ์โรงงานอุดสาหกรรมเชิงนิเวศที่มีคุณค่าต่อสังคม
*****โครงการยกระดับและพัฒนาโรงงานอุดสาหกรรมเขิงนิเวศ ในพื้นที่เป๊าหมาย ๑๕ จังหวัด วันนี้ ณ ห้องประชุมวิลล่า ชั้น 1 โรงแรม ลาวิลล่า บูทิค โฮเทลโดย นายดำรง โอกาส อุตสาหกรรมจังหวัดสระแก้วนายพงศ์นคร ยางงาม ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ท่านผู้แทนจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้แทนหน่วยงานราชการในพื้นที่และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกท่านเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้
*****นายดำรง โอกาส อุตสาหกรรมจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า สำหรับการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อ ประชาสัมพันธ์โรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่มีคุณค่าต่อสังคม (Eco Factory plus Social Value) ซึ่งจัดโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เป็นหนึ่งในนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลในหลายรัฐบาลที่ผ่านมา นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกันจัดตั้ง คณะทำงานศึกษาแนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศต้นแบบใน ๕ จังหวัดแรกเริ่ม คือ จังหวัดระยองในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดปราจีนบุรี จนกระทั่งถูกกำหนดอยู่ในยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (๒๕๖๑ – ๒๕๘๐) โดยมองว่าการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จะเป็นเครื่องมือหลัก ในการส่งเสริม ให้โรงงานอุตสาหกรรม สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน ภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน ในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมใน ๕ มิติ ทั้งมิติกายภาพเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารจัดการจังหวัดสระแก้ว ได้ถูกกำหนดให้เป็นกลุ่มจังหวัดเป้าหมาย ในการพัฒนาเมือง อุตสาหกรรมเชิงนิเวศในระยะที่ ๒ ซึ่งเราได้เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนของการพัฒนาแล้ว โดยเบื้องต้นได้มีคำสั่ง จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสระแก้ว ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และเครือข่ายภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง โดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานคณะกรรมการ และกระผม ในฐานะอุตสาหกรรมจังหวัด เป็นคณะกรรมการและเลขานุการได้มีมติจากที่ประชุมคณะกรรมการฯ เห็นชอบให้เลือกพื้นที่ตำบลห้วยโจด เป็นพื้นที่ต้นแบบ ของการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยในอุตสาหกรรมอยู่จำนวน ๑๖ โรงงาน ซึ่งจะเป็นฟันเฟืองที่สำคัญ ในการขับ อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ และวิสัยทัศน์ของจัง สระแก้ว ที่เป็น “เมืองชายแดนแห่งความสุขและมั่นคง ถิ่นเกษตรปลอดภัย แหล่งท่อ เชิงนิเวศและอารยธรรมโบราณ เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วมั่งคั่ง ยั่งยืน” ในวันนี้ นับเป็นมติหมายที่ดี ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้เข้ามาเตรียมความพร้อม ให้กับพื้นที่จังสระแก้ว ซึ่งเราจะได้เข้าใจบทบาทและภารกิจ ที่ะต้องดำเนินร่วมกัน ในการอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่มีคุณค่าต่อสังคม และจากนั้น ค่อยๆ ขยายวงรอบของการพัฒนา จากโรงงาน ชุมชน ตำบล ไปสู่ความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่สมบูรณ์ และสุดท้าย กระผมต้องขอขอบคุณ ผู้แทนจากหน่วยงานราชการในพื้นที่ และผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือ ให้ความสนใจต่อการพัฒนาจังหวัดสระแก้ว
*****นายพงศ์นคร ยางงาม ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า เตรียมความพร้อมการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 2 – 3 เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เมื่อวันที่ 1 – 10 เมษายน 2564 กรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยกองพัฒนาเมือ อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์การเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่มีคุณค่าต่อสังคม (Eco Factory plus Social Value ชี้แจงความเป็นมาของการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมทั้งการเตรียมความพร้อม การสร้างความรู้ความเข้าใจในแนวทางการพัฒนา เพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่มีคุณค่าต่อสังคม ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดเป้าหมายการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ประกอบด้วยตำบลห้วยโจด อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว การลงพื้นที่ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town : EIT) ที่ได้ถูกกำหนดให้อยู่ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561 – 2580) ด้านที่ 5 การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยภายในปี พ.ศ. 2579 ต้องพัฒนาเมืองต้นแบบให้เป็นเมืองน่าอยู่คู่อุตสาหกรรมไม่น้อยกว่า 40 พื้นที่ ใน 37 จังหวัด ซึ่งในปัจจุบันมีพื้นที่ที่เข้าร่วมการพัฒนาดังกล่าวแล้วจำนวน 53 พื้นที่ใน 39 จังหวัด โดยการพัฒนาพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มุ่งหวังที่จะเป็นเครื่องมือหลักในการส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรม สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน สร้างเศรษฐกิจและชุมชนให้เติบโตไปด้วยกันภายใต้สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความร่วมมืออย่างจริงจังของคนในพื้นที่ และจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมใน 5 มิติ ทั้งมิติกายภาพ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารจัดการ
***ภาพ/สมศักดิ์ สารการ/ข่าว วีระยุทธ สารการ /บูรพาทีวีออนไลน์ รายงาน