ชาวบ้านชี้บ่อบาดาลรัฐไร้ประโยชน์ไม่ตรงตามความต้องการชาวบ้าน เผยหากเจาะใหม่อยากให้ลดขนาดเพิ่มจำนวน
บ่อบาดาลขนาดใหญ่ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล บริเวณหมู่ที่ 1 ต.อินทประมูล อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทองถูกปล่อยทิ้งร้างเป็นแท่นอนุสาวรีย์ริมทุ่งนาและไม่มีเกษตรกรใช้งาน เนื่องจากติดปัญหาในเรื่องของเครื่องสูบน้ำซึ่งหากจะใช้งานบ่อบาดาลดังกล่าวต้องใช้เครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่เพราะขนาดท่อและระบบการสูบไม่สามารถใช้เครื่องที่ชาวนามีอยู่ได้ ทำให้ชาวนาหลายคนตั้งข้อสงสัยถึงโครงการดังกล่าวว่ามีการนำเงินงบประมาณมาใช้โดยไม่ได้คำนึงถึงการใช้งาน โดยหลังมีกระแสข่าวเน็ตไอดอลคนดังเจาะบ่อบาดาลช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่ภาคอีสานซึ่งใช้งบประมาณในการขุดเจาะน้อยกว่าของรัฐหลายสิบเท่าตัวและใช้วานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของเกษตรกร จนทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาชี้แจงและจะดำเนินการุดบ่อบาดาลให้กับเกษตรกรอีกกว่า 600 บ่อทั่วประเทศ ทำให้ชบ้านวิตกกังวลว่าจะไร้ประโยชน์เช่นเดียวกับบ่อบาดาลเหล่านี้หรือไม่
นางดาวเรือง เหล็กไหล อายุ 46 ปี ชาวนาคนหนึ่งเปิดเผยว่าตนเองทำนาแระมาณ 20 ไร่ ที่ผ่านมาไม่เคยใช้น้ำจากบ่อบาดาลที่รัฐมาเจาะให้เนื่องจากมีขนาดใหญ่แต่เครื่องสูบน้ำของชาวนาไม่มีกำลังพอเพียงในการที่จะสูบน้ำจากบ่อบาดาลเหล่านี้ ทำให้ต้องช่วยเหลือตัวเองด้วยการเจาะบ่อบาดาลขนาดของตนเองเพื่อช้ในการทำนา ซึ่งหากรัฐบาลจะจเบ่อบาดาลอีกก็อยากให้เจาะบ่อขนาดเล็กให้กับชาวนาจะใช้ประโยชนืได้มากกว่า
เช่นเดียวกับลุงอุบล ใจทอง อายุ 65 ปี ซึ่งทำนาและทำสวนผสมในพื้นที่หมู่ที่ 1 ต.อินทประมูล อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทองและอยู่ไม่ห่างจากบ่อบาดาลขนาดใหญ่บอกว่าบ่อบาดาลที่รัฐมาเจาะให้ไม่มีใครใช้เพราะต้องใช้เครื่องสูบขนาดใหญ่และมีปริมาณน้ำขึ้นน้อยไม่คุ้มกับค่าน้ำมัน ทำให้ต้องเจาะบ่อบาดาลเองใช้เงินแค่หมื่นกว่าบาทเท่านั้นและใช้ประโยชน์ได้มากกว่าบ่อบาดาลของรัฐอีก ถ้ารัฐคิดจะเจาะอีกก็น่าจะสำรวจความต้องการของประชาชนและให้ชาวนาเจาะเองดีกว่าเพราะจะสามารถใช้ประโยชน์มากกว่าบ่อแบบที่รัฐเจาะรวมถึงยังประหยัดงบประมาณอีกด้วย
สำหรับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ระยะเร่งด่วน ประจำปีงบประมาณ 2558 (งบกลาง) ดังกล่าวเป็นโครงการที่จัดสรรจากส่วนกลางโดยตรง ดำเนินการโดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 2 สุพรรณบุรี จำนวน 65 บ่อและขุดเจาะเพิ่มในปี 2559 อีก 190 บ่อ เป็นการเจาะบ่อบาดาล ขนาดท่อ 6 นิ้ว ลึก 100 เมตรพร้อมติดตั้งระบบสูบน้ำเทอร์ไบน์ ซึ่งสูบน้ำได้ประมาณ 10 ลบ.นิ้ว/ชั่วโมง ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า บ่อบาดาลของกรมทรัพยากรถูกทิ้งร้างและไม่ได้ใช่งานเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการสูบน้ำต้องนำเครื่องสูบน้ำของชาวบ้านมาต่อกับบ่อบาดาลเพื่อสูบน้ำเอง ทำให้ต้อมีค่าใช้จ่ายต้นทุนสูบน้ำเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบบ่อบาดาลในพื้นที่ทั้ง 225 บ่อแล้วพบว่ากว่า 90 % ยังสามารถใช้งานได้
ทรงวุธ กลิ่นสุคนธ์/ข่าว