ราชบุรี 01 ส่ง – น่าทึ่ง เครื่องดนตรีจากผลไม้ ศิลปะสุดทึ่ง ของครูเกษียณ ชาวบ้านโป่ง
สุดว้าว!! “เครื่องดนตรีจากผลไม้” ศิลปะสุดทึ่ง ของอดีตข้าราชการครูเกษียณวิชาดนตรี “อาจารย์วิรัช ขำมาลัย” วัย 67 ปี นักประดิษฐ์เครื่องดนตรีพิสดาร ศิลปินดีเด่นจังหวัดราชบุรี สาขาศิลปะการแสดงประจำปี พ.ศ.2542 ที่หยิบจับผลไม้ หรือ ภาชนะเหลือใช้เป็นเครื่องดนตรี
.
(29 มี.ค.64) เครื่องดนตรีไทยเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาไทย ที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีเสียงที่ไพเราะและแตกต่างกับเครื่องเล่นจากประเทศอื่นๆ เครื่องดนตรีแต่ละอย่างจะมีความไพเราะและนุ่มนวลเฉพาะตัวของมัน และแบ่งประเภทออกมาได้ทั้งหมด 4 ประเภทนั่นคือ ดีด สี ตี และเป่า แต่ละประเภทจะมีเสียงที่แตกต่างกัน แต่เมื่อไหร่ที่นำมาเข้าจังหวะด้วยกันจะเกิดทำนองเพลงที่ไพเราะ ซึ่งชาติไหนก็ไม่สามารถเทียบความไพเราะของเครื่องดนตรีไทยได้ เครื่องดีดเป็นเครื่องดนตรีจำพวก จะเข้ เครื่องสีเป็นเครื่องดนตรีจำพวก ซอ เครื่องตีเป็นเครื่องดนตรีจำพวก ระนาด ฆ้อง กลอง เครื่องเป่าเป็นเครื่องดนตรีจำพวก ขลุ่ย ปี่ เป็นต้น
.
วัสดุที่สร้างเครื่องดนตรีไทย ส่วนใหญ่จะใช้วัสดุที่มีอยู่ในธรรมชาติแล้วค่อยๆ มาปรับปรุงพัฒนาต่อไปเรื่อย ต้นไผ่ และกระดูกสัตว์ กะลามะพร้าว แผ่นอลุมิเนียม ไฟเบอร์กลาส หนังสัตว์ และวัสดุที่ให้ความคงทนแข็งแรง ที่เราเห็นกันในปัจจุบัน
.
แต่ที่บ้านคุ้งพยอม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี กลับมีอดีตครูวัยเกษียณ ที่พร่ำสอนดนตรีไทยมายาวนานกว่า 50 ปี แม้จะเกษียณอายุราชการมาแล้ว ก็ยังคงทำหน้าที่เป็นครูจิตอาสาสอนวิชาดนตรีให้กับนักเรียน ด้วยแถมยังเป็นที่รู้จักกันว่า ครูนักประดิษฐ์ นักสร้างสรรค์ เครื่องดนตรีพิสดาร ศิลปินดีเด่นจังหวัดราชบุรี สาขาศิลปะการแสดงประจำปี พ.ศ.2542 ที่หยิบจับผลไม้ หรือ ภาชนะเหลือใช้เป็นเครื่องดนตรี
.
ผู้สื่อข่าวจึงเดินทางไปที่บ้านของครูนักประดิษฐ์เครื่องดนตรีพิสดารคนดังกล่าว ตั้งอยู่ใน บ้านคุ้งพยอม หมู่ที่ 12 ต.คุ้งพยอม อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นบ้านของ นายวิรัช ขำมาลัย อายุ 67 ปี หรือ ที่รู้จักกันครูวิรัช เป็นอดีตข้าราชการครูวัยเกษียณ แต่ปัจจุบันยังคงทำหน้าที่เป็นครูจิตอาสายังคงทำหน้าที่สอนวิชาดนตรีไทยให้กับเด็กนักเรียนในโรงเรียนต่างๆ
.
ครูวิรัช เล่าว่า ตนเองเป็นครูตั้งแต่อายุ 18 ปี และสอนจนเกษียณ รวมแล้วเกือบ 50 ปี เป็นครูสอนดนตรี และ สอนเด็กอนุบาล ส่วนเครื่องดนตรีที่ตนเองได้คิดขึ้นมาเอง และเป็นคนสร้างขึ้นมานั้นเอง ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องดนตรีชนิดเป่า อาทิ ทุเรียน แอปเปิล ชมพู่ หรือแม้แต่ แตงร้าน นอกจากผลไม้ก็ยังนำ สาก มาใช้ทำเครื่องดนตรีอีกด้วย งานนี้คำว่า “เงียบเป็นเป่าสาก” ทำให้รู้ว่าน่าจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป รวมไปถึงเครื่องดนตรีที่ทำจากเศษวัสดุเหลือใช้อีกมายมาย ไม่ว่าจะเป็น ทรอมโบน จากท่อ PVC และราวตากผ้า, แซกโซโฟน จากขี้เลื่อย, แซกบราโน่ จากไม้ไผ่ และกีตาร์ไฟฟ้า จากไม้ทีของนักศึกษาอาชีวะ
.
ซึ่งครูวิรัช ขำมาลัย ได้พาผู้สื่อข่าวไปที่ตลาดในเทศบาลเมืองบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง เพื่อเลือกซื้อผลไม้ ที่จะนำมาใช้ทำเป็นเครื่องดนตรี อาทิ ชมพู่ ละมุด กล้วย มะละกอ มะระ แตงกวา มะม่วง เพื่อพิสูจน์ให้ผู้สื่อข่าวดูว่าจะสามารถทำเป็นเครื่องดนตรีได้หรือไม่ โดยหลังจากเลือกเสร็จ ครูวิรัชได้ นำกลับเตรียมให้วัสดุในการประดิษฐ์ก็จะประกอบไปด้วย มีด ดอกสว่าน ไขควง ประแจหกเหลี่ยม ช้อน และที่ขาดไม่ได้คือ กำกวด หรือ ลิ้น เป็นส่วนประกอบของปี่ซึ่งทำให้เกิดเสียงเวลาเป่า สอดติดอยู่กับเลาปี่ ที่จะทำให้กำเนิดเสียงในผลไม้ ทำจากใบตาลมาประดิษฐ์คู่กับหลอดและใช้เชือกพัน
.
ส่วนวิธีการทำนั้นไม่อยาก แต่ครูวิรัช บอกว่าต้องใช้ประสบการณ์ การฟังเสียง เมื่อเรานำผลไม้ที่เลือกซื้อมา ใช้มีดตัดหรือหั่นส่วนที่มีขนาดความกว้างที่มากว่า ก็จะอยู่ช่วงป้องก่อนถึงส่วยยอดของผลไม้ อาทิ ลูกชมพู่ จะใช้มีดคว้านช่วงปลายของผล ให้มีลักษณะคล้ายดอกลำโพง จากนั้นใช้ไขควงเจาะให้เป็นรูตรงกลางจนทะลุอีกฝั่ง ส่วนที่ติดกับก้าน และตัดจุกก้านทิ้ง ต่อมาใช้ไขควงเล็ก เจาะรูที่ด้านข้าวของผล โดยการเว้นช่องห่างของนิ้ว จะได้ประมาณ 3 – 4 รู เท่านี้ก็จะได้เครื่องดนตรีจากผลชมพู่ ส่วน ผลไม้อื่นๆ ก็ทำลักษณะเหมือนกัน แต่จะให้เสียงที่แตกต่างกันไปตามชนิดของผลไม้ เช่น ชมพู่ จะให้เสียงที่ค่อนข้างกังวานและเสียงแหลม, ละมุด ก้องและออกไปแหลมทุ้ม, จะให้เสียงที่ กล้วย จะให้เสียงที่กังวานและแหลม, มะละกอ จะให้เสียงก้องและออกไปแหลมทุ้ม, มะระ จะให้เสียงก้องและออกไปทุ้ม, แตงกวา จะให้เสียงที่ก้องและออกไปแหลมทุ้ม มะม่วง จะให้เสียงแหลมและออกไปแหลมกังวาน
.
นอกจากนี้ ครูวิรัช ยังได้สาธิตการเป่าสาก ที่ได้ประดิษฐ์เอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว เพราะต้องใช้เครื่องมือไฟฟ้า อย่างเช่นสว่านเพื่อเจาะไม้ของตัวสากให้เป็นรู ซึ่งงานนี้คำว่า “เงียบเป็นเป่าสาก” จะใช้ไม่ได้อีกต่อไป เพราะครูวิรัชสามารถเป่าสากให้มีเสียงได้ พร้อมทั้งยังได้สาธิตการเป่าเครื่องดนตรีที่ทำจากเศษวัสดุเหลือใช้อีกหลายชิ้น อาทิ ทรอมโบน จากท่อ PVC และราวตากผ้า, แซกโซโฟน จากขี้เลื่อย, แซกบราโน่ จากไม้ไผ่
.
จากการนำผลไม้ชนิดต่างๆ และ เศษวัสดุเหลือใช้ มาประดิษฐ์เป็นเครื่องดนตรี ครูวิรัช กล่าวว่า เกิดจากการที่เมื่อสมัยเด็กอยากเป็นนักดนตรี แต่ไม่มีทุนในการซื้อจึงได้รองคิดค้นนำเศษวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นเครื่องดนตรี ส่วนผลไม้ ตนได้รองนำผลไม้มาประดิษฐ์ดูจึงพบว่าสามารถนำมาเป็นเครื่องดนตรีชนิดเป่าได้ ประกอบกับการใช้ทักษะในการฟังเสียงและการเข้าใจเสียงที่ได้จากผลไม้ บางชนิดได้เสียงแหลม บางชนิด เสียงทุ้ม ซึ่งตนจะนำมาสอนเด็กๆ เวลาสอนจะทำให้เด็กรักสนุกและเข้าใจง่าย แต่ที่สำคัญ ตนมองว่าทำไมเครื่องดนตรีถึงราคาแพง เด็กจะเข้าถึงเครื่องดนตรีได้อย่างไร ตนจึงนำสิ่งของเหล่านี้มาทำเป็นเครื่องดนตรีและสอนเด็กๆ ปัจจุบัน ครูวิรัชได้ประดิษฐ์เครื่องดนตรีมาแล้วกว่า 30 ชนิด
.
สำหรับใครที่อยากจะเรียนรู้เรื่องการประดิษฐ์เครื่องดนตรีจากผลไม้ และ วัสดุเหลือใช่สามารถโทรสอบถามได้ที่หมายเลข 086-766-6985
ตาเป้ จ.ราชบุรี